หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล พนมเศษ ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
นางนิสา​ ใจเอื้อ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมเศษ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลพนมเศษ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคลองบอน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพนมเศษ
นางสาวกนกวรรณ ญาวงศ์
องค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว
เขาพนมเศษที่ประดิษฐาน
หลวงพ่อขาว
เจ้าแม่กวนอิม
องค์การบริหารส่วนตำบล
พนมเศษ
อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
1
2
3
 
 
 

 
ความรู้เกี่ยวกับการชำระภาษีบำรุงท้องที่  
 

ที่ดินที่จะต้องชำระภาษีบำรุงท้องที่

ที่ดินที่จะต้องชำระภาษีบำรุงท้องที่

1. ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหรือคณะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล รวมทั้งที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน แต่อยู่ในความครอบครองของบุคคลหรือคณะบุคคล
1.1 ที่ดินที่เป็น “กรรมสิทธิ์” ของบุคคลหรือ คณะบุคคล
1.1.1 โฉนดที่ดิน
1.1.2 โฉนดแผนที่
1.1.3 โฉนดตราจอง
1.1.4 โฉนดตราจองที่ว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว"
1.2 ที่ดินที่อยู่ในความ “ครอบครอง” ของบุคคลหรือคณะบุคคล
1.2.1 หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก,น.ส.3หรือ น.ส.3 ข)
1.2.2 หนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
1.2.3 หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (ส.ธ.1)
1.2.4 หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในที่ของ (ส.ป.ก.4-01)
1.2.5 หนังสืออนุญาตให้ทำกินในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว ออกโดยกรมป่าไม้ (ส.ท.ก.)
1.2.6 ใบรับแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน
1.2.7 ใบจองหรือใบเหยียบย่ำ หรือตราจอง
1.2.8 ใบสำคัญแสดงการนำที่ดินขึ้นทะเบียน (แบบหมายเลข 3)
1.2.9 ใบไต่สวนหรือใบนำ
1.2.10 หนังสือแสดงการทำประโยชน์ ในกรณีที่ได้รับการจัดที่ดินในนิคมสร้างตนเองหรือสหกรณ์นิคม (น.ค.3 หรือ กสน.5)
1.2.11 หนังสือสำคัญอื่น ๆ ที่หน่วยงานของรัฐ ออกให้
2. ที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ของรัฐ แต่นำพื้นที่ดินไปแสวงหาประโยชน์ เช่น นำไปให้เช่าที่ป่าสงวน ที่รัฐบาลให้บุคคลเข้าทำประโยชน์ เป็นต้น
3. ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่น ที่นำไปแสวงหาประโยชน์ จากการ เช่า หรืออื่น ๆ
4. ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนากิจ ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดแต่นำไปหาประโยชน์
5. ที่ดินที่เป็นหัวไร่ปลายนา ที่มีเนื้อที่ไม่เกิน 1,000 ไร่ ที่ราชการกำลังจะเปิดให้ราษฎรเข้าจับจอง แต่ราษฎรได้เข้าทำประโยชน์ก่อน
6. ที่ดินที่เช่าไปทำเหมืองแร่
7. เอกสารสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองอยู่ในระหว่างจำนอง

อธิบาย หลักการทั้งหมดดังนี้
1.1 เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายที่รัฐอนุญาตให้ประชาชนใช้สิทธิ์ในที่ดินนี้ได้ทุกกรณี โดยที่รัฐไม่ได้จำกัดสิทธิ์
1.2 เป็นเพียงหลักฐานที่รัฐหรือองค์กรของรัฐออกให้ครอบครองใช้ประโยชน์ชั่วคราว และถูกจำกัดสิทธิ์บางส่วนตามกฎหมาย ข้อสังเกตอีกประกาศหนึ่งคือถ้าที่ดินดังกล่าวอยู่ในการครอบครองของหน่วยงานรัฐจะเรียกเก็บภาษีไม่ได้ เช่น ที่ สปก.ที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานปฏิรูปที่ดิน ตามหนังสือสังการ
ข้อ 5 ที่ดินที่รัฐอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ แต่ประชาชนยังไม่ได้ไปออกเอกสารสิทธิ์ ถือว่าเป็นการ
“ครอบครอง” ตามกฎหมายที่ดินได้เช่นกัน ดังนั้นการครอบครองจึงแปลความได้ว่า “การใช้ประโยชน์ในที่ดินที่มีเอกสารรับรองของรัฐและไม่มีด้วยเช่นกัน
นอกนั้น เป็นที่ดินที่หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐครอบครองตามกฎหมายเฉพาะ แต่มิได้ใช้ประโยชน์ตามกฎหมายนั้น ๆ หรือใช่ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ขององค์กร เช่นที่ดินของสถาบันการศึกษาที่มิได้ใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา แต่เปิดให้บุคคลทั่วไปเช่าค้าขายหรือแสวงหาประโยชน์ในที่ดินนั้น ก็ถือว่าเข่าข่ายต้องชำระภาษีได้เช่นกัน
                                         *****************

 

ข่าว ณ. วันที่ 26 พ.ย. 2558 เวลา 14.27 น. โดย คุณ สิริมา ทวีผล

ผู้เข้าชม 1871 ท่าน